แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องการเพิ่มคำ
ข้อ ๑-๕ คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อต่อไปนี้ เป็นคำชนิดใด
๑)
หมองู
ตายเพราะงู
ก. คำซ้ำ
ข. คำซ้อน
ค. คำประสม
ง. คำจากภาษาอื่น
๒) อย่าคบกับ
ขี้ข้า
อย่าค้ากับขุนนาง
ก. คำซ้ำ
ข. คำซ้อน
ค. คำประสม
ง. คำจากภาษาอื่น
๓) ไม่เห็นแก่ขี้ ก็ต้องเห็นแก่
ผ้าเหลือง
ก. คำซ้ำ
ข. คำซ้อน
ค. คำประสม
ง. คำจากภาษาอื่น
๔) อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย ที่ไหนหนักหักกายเข้า
หาบหาม
ก. คำซ้ำ
ข. คำซ้อน
ค. คำประสม
ง. คำจากภาษาอื่น
๕) เขาย่อม
เปรียบเทียบ
ความเมื่อยามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ก. คำซ้ำ
ข. คำซ้อน
ค. คำประสม
ง. คำจากภาษาอื่น
๖) ความหมายของคำซ้ำ บางครั้งก็เท่ากับเพิ่มจำนวนให้เป็นพหูพจน์ คำตอบข้อใดให้ความหมายอ่อนลง
ก. พี่ๆ ไม่รักน้อง
ข. นั่งๆ ให้เขาเห็นสักหน่อย
ค. เพื่อนๆ ไม่ชอบเขา
ง. ลูกๆ ไม่อยู่บ้าน
๗) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ในสมัยก่อนเมื่อเขียนซ้ำคำไม่ว่าในบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง จะใช้ไม้ยมกแทนเสียที่ซ้ำเสมอ
ข. ในปัจจุบันกำหนดให้ใช้ไม้ยมกเฉพาะในบทร้อยแก้วเท่านั้น
ค. ในปัจจุบัน ในบทร้อยกรองจะใช้ไม่ยมกเสมอ
ง. ในภาษาพูดอาจเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำหน้าในคำซ้ำได้
๘) ข้อใดไม่ใช่คำซ้อน
ก. เกี่ยวข้อง
ข. ขัดขวาง
ค. ส่งเสริม
ง. ร้องเพลง
๙) ข้อใดไม่ใช่คำซ้อน
ก. เสื้อแสง
ข. เสื่อสาด
ค. สร้างสรรค์
ง. ตรวจสอบ
๑๐) คำซ้อนบางคำ ไม่สามารถสลับตำแหน่งกันได้
ก. เกี่ยวข้อง
ข. แจกจ่าย
ค. ค้ำจุน
ง. แค้นเคือง